โปรแกรมการจัดกิจกรรมหรือช่องทางการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่นและผู้ผลิตอาหาร

   1) ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยววิถีเกษตรและวัฒนธรรมชุมชน : ลาดหญ้าแพรก สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ดำเนินพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับประชาชน ผู้แทนชุมชน ผู้แทนตำบลกำแพงแสน และภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ สถาบันการเงินชุมชนบ้านลาดหญ้าแพรก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง เทศบาลตำบลกำแพงแสน สาธารณสุขอำเภอกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอกำแพงแสน ผู้แทนนายอำเภอกำแพงแสน Biz Club นครปฐม คณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชน จังหวัดนครปฐม ในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์และจากที่ต่างๆ ฯลฯ
   2) ชุมชนต้นแบบเกษตรกรรม กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติเกษตรอินทรีย์หนองงูเหลือม บ้านรางนกขุนทอง ตำบลหนองงูเหลือม จังหวัดนครปฐม โดยสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ร่วมกับกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติเกษตรอินทรีย์หนองงูเหลือม จัดการศึกษาดูงาน “การพัฒนาชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ให้กับเจ้าหน้าที่ ศูนย์สังคมพัฒนาสังคม คาริตัสไทยแลนด์ เขตภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ จำนวน 30 คน
   3) โครงการพัฒนาส่งเสริมความรู้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรของจังหวัดนครปฐม ประจำปี 2566 ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรรมตามบริบทในพื้นที่ พัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรตามความต้องการของกลุ่มเกษตรกร ให้แก่สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกล้วย หมู่ที่ 5 ตำบลสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 24 คน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 หลังการจัดกิจกรรมทำให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความรู้ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้
   4) การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยววิถีเกษตรและวัฒนธรรมชุมชนสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวางจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยววิถีเกษตรและวัฒนธรรมชุมชนสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ ผ่านกระบวนจัดทำเวทีชุมชนเพื่อรวบรวมข้อมูลศักยภาพและความพร้อมของฐานการเรียนรู้ สถานที่สำคัญ ภูมิปัญาญา ผลิตภัณฑ์โดดเด่น (จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา และโอกาส) จัดทำแนวทางสร้างและพัฒนาฐานการเรียนรู้และแหล่งเที่ยวชุมชน วันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ฯลฯ
   3) กิจกรรม ส่งเสริมการสร้าง KU STARTUP Smart Farmers Entrepreneur
     สำนักส่งเสริม และฝึกอบรมกำแพงแสน ดำเนินการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ ทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมการสร้าง KU STARTUP (Smart Farmers/ Startup/Entrepreneur ให้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นิสิต และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จำนวน 7 หลักสูตร มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 252 คน ดังนี้
    -  โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ START UP ปั้นฝันสู่ธุรกิจ วันที่ 17 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2565 ร่วมกับสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้กับนิสิตมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 20 คน
     - โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนด้านการทำอาหาร หลักสูตร “ก๋วยเตี๋ยวเรือ และ ขนมถ้วยกะทิสด” วันที่ 22 ธันวาคม 2565 ร่วมกับเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จำนวน 40 คน
     - โครงการฝึกอบรม หลักสูตร “กาลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร” วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ร่วมกับเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จำนวน 30 คน
     - โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนด้านคหกรรม หลักสูตร “การจัดดอกไม้ประดิษฐ์” วันที่ 20เมษายน 2566 ร่วมกับเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จำนวน 23 คน
     - โครงการฝึกอบรมผู้ส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตร วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้กับเกษตรกรโครงการนาแปลงใหญ่ในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน -
     - โครงการส่งเสริมการทำหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ร่วมกับเทศบาลเมืองกระุทุ่มล้ม ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จำนวน 30 คน
     - โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อบรมให้ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่ม และศึกษาดูงานแกนนำกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มสตรีตำบลทรงคนอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566-วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง จำนวน 59 คน
   กิจกรรม การให้คำปรึกษา แนะนำ การเยี่ยมเยียนแปลงเกษตรกร และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิต การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มการบริหารจัดการ และการตลาดสินค้าเกษตร โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบข้อมูล ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรอย่างละเอียด รวมทั้งการจัดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำแนะนำและข้อปรึกษา เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร
   กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนา เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาและสนับสนุนการผลิต การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่ม การบริหารจัดการ และการตลาดสินค้าเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยการตั้งเป็นจุดเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ
กิจกรรม การส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและการสร้างเครือข่ายของเกษตรกร โดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาเกษตรกร ชุมชน และเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิต แปรรูป และการตลาดของสินค้าเกษตรให้มีมาตรฐานและสร้างความสามารถสู่การแข่งขัน โดยการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกร และสร้างความยั่งยืนในเศรษฐกิจเกษตรกรรมและเพิ่มคุณค่าให้กับชุมชน รวมทั้งการร่วมมือและแบ่งปันทรัพยากรและความรู้ช่วยในการแก้ไขความท้าทายและสร้างโอกาสในการพัฒนาการเกษตรให้ยั่งยืน และสามารถการปรับตัวต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง
   (4) การพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นเล็ก ในการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม สานต่อความยั่งยืนภาคการเกษตร
     สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ดำเนินการพัฒนาเยาวชนและบุตรหลานเกษตรกร ให้เป็นผู้ประกอบการน้อยที่มีใจรักการเกษตรและสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมจากรุ่นพ่อแม่ ผ่านการถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การทำแปลงเกษตรทดลอง ภายใต้ โครงการโรงเรียนบุตรเกษตรกรในปี 2566 การพัฒนาบุตรเกษตรกรได้ขยายผลในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในโรงเรียน รร. บ้านหนองงูเหลือมรร. ประถมฐานบิน กพส. รร.วัดหนองสองห้อง รร. หนองศาลาประชานุกูล โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงจากบุตรเกษตรกรรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจแนวคิด วิธีการในการทำการเกษตรให้กับกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำการเกษตร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำการเกษตรในอนาคต เพื่อรองรับทั้งบุตรเกษตรกรและเยาวชนเข้าสู่การรับรองสมรรถนะอาชีพตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพเกษตรกรปราดเปรื่องและผู้ประกอบการเกษตรต่อไป
     4.1 กิจกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำบุตรเกษตรกรผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลและการให้คำปรึกษาแก่บุตรเกษตรกร เพื่อให้ความรู้ทางการเกษตร การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แก่บุตรเกษตรกรและสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับบุตรเกษตรกร
    4.2 โครงการฝึกอบรม หลักสูตรไว้สำหรับบุตรเกษตรกร 11 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรการวางระบบน้ำ ระบบน้ำอัจฉริยะ 2.หลักสูตรการผลิตพืชเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GAP 3.หลักสูตรการแปรรูปมะพร้าว 4.หลักสูตรการทำน้ำสมุนไพร 5.หลักสูตรการเก็บตัวอย่างดิน 6.หลักสูตรการวิเคราะห์ดินเพื่อพัฒนาการเกษตร 7.หลักสูตรการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 8.หลักสูตรการเพาะและปลูกผักสลัด 9. หลักสูตรการเพาะเห็ด 10.หลักสูตรการเลี้ยงไส้เดือน 11.หลักสูตรการปลูกผักในโรงเรือน
   4.3 กิจกรรมการสร้างเครือข่ายและการขยายผลองค์ความรู้
   1) บุตรเกษตรกร นางสาววธรารินทร์ ชินฐิติโรจน์ นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในฟาร์มของตนเอง โดยมีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เพาะเห็ดกำแพงแสน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษากับบุตรเกษตรกรรุ่นน้อง และการเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนในการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด มีเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และโรงเรียนต่างๆ เข้าไปศึกษาการเพาะเห็ดประมาณ 500 คน
   2) บุตรเกษตรกรมีการนำไปถ่ายทอดต่อกับกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนประฐมฐานบินกำแพงแสน และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในฟาร์มของตนเอง ทั้งเรื่องการขยายพันธุ์พืชในฟาร์มตนเอง และการเลี้ยงไส้เดือน
   3) บุตรเกษตรกร นายไพศาล ขันตีสา เป็นวิทยากรด้านการออกแบบระบบน้ำและการติดตั้งระบบน้ำอัจฉริยะ อีกทั้งเป็นคณะทำงานด้านการออกแบบระบบน้ำในพื้นที่การทำการเกษตรร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
   4) บุตรเกษตรกร นางวรรณภา เหลืองธุวปราณีต เป็นวิทยากรและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในด้านการแปรรูปมัลเบอรี่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษากับบุตรเกษตรกรรุ่นน้อง และการเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียน
   5) บุตรเกษตรกร นางรำพรรณพร ระย้าย้อย เป็นวิทยากรและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในด้านการแปรรูปไซรัปอ้อย อีกทั้งพื้นที่ฟาร์มเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานและถ่ายทอดความรู้ในด้านการทำการเกษตรแบบผสมผสานและการทำการเกษตรอัจฉริยะ ให้กับชุมชน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษากับบุตรเกษตรกรรุ่นน้อง และการเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียน
4.4 การพัฒนากลุ่มโรงเรียน การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับครูและบุคลากรของโรงเรียนผ่านกระบวนการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน โดยฝึกอบรมร่วมกับบุตรเกษตรกรในหลักสูตรการผลิตพืชเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GAP หลักสูตรการวางระบบน้ำ ระบบน้ำอัจฉริยะ และการส่งเสริม ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการผลิตเห็ดในโรงเรือน การสร้างโรงเรือนเห็ด การปลูกผักบนแคร่ และการปลูกผักในโรงเรียน การแปรรูปมะพร้าว การเลี้ยงไส้เดือน การทำน้ำสมุนไพร อีกทั้งการศึกษาดูงาน โดยมีคณะครูและบุคคลากรเข้าร่วมจำนวน 5 โรงเรียน   จากการดำเนินงานร่วมกับ 5 โรงเรียน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
   1) โรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุกูล) มีการจัดทำรายวิชาด้านการเกษตรและด้านทักษะวิชาชีพการทำขนมให้กับนักเรียนในโรงเรียน อีกทั้งมีการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของโรงเรียนในการจำหน่ายให้กับชุมชน สร้างรายได้กับโรงเรียนและนักเรียน มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 30 คน โดยโรงเรียนจะมีการออกบูทกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ ในงานเกษตรกำแพงแสน
   2) โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน มีการนำความรู้จากการฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนไปจัดทำเป็นฐานเรียนรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียน และนำไปใช้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนเพื่อเพาะปลูกผักและต้นไม้ในโรงเรียน มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 30 คน
   3) โรงเรียนบ้านรางอีเม้ย มีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในโรงเรียน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ อาทิ ผักสลัด เห็ดฮังการี ขนมบ้าบิ่นมะพร้าวสด มะพร้าวนมสด และน้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งมีการจัดกิจกรรม “บ้านรางคาเฟ่” โดยมีการนำผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนออกจำหน่ายทุกบ่ายวันพฤหัสบดีของแต่ละสัปดาห์ เพื่อฝึกทักษะให้กับนักเรียนและสร้างรายได้ โดยมีการเปิดกิจกรรมครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 อีกทั้งโรงเรียนจะมีการออกบูทกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ ในงานเกษตรกำแพงแสน
   โดยโรงเรียนบ้านรางอีเม้ย (เฮงบำรุงราษฎร์) ได้รับการพัฒนาเชื่อมโยงการสร้างอาชีพในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยได้จำลองธุรกิจคาเฟ่ภายในโรงเรียน เป็นต้นแบบผู้ประกอบการรุ่นเล็ก
   4) โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม มีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในโรงเรียน โดยมีใช้ระบบน้ำอัจฉริยะในแปลงเกษตรของโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อาทิ แหนมเห็ด มะพร้าวนมสด โดยโรงเรียนจะมีการออกบูทกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ ในงานเกษตรกำแพงแสน
   5) โรงเรียนบ้านดอนซาก จัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพ การทำวาฟเฟิล การทำซูชิข้าวไรซ์เบอร์รี่ และการปลูกผักสวนครัว โดยมีครูและกลุ่มนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 50 คน
(5) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกและแปรรูปโกโก้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้ BCG Model
     สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกและแปรรูปโกโก้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้ BCG Model โดยการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลุกโกโก้จังหวัดนครปฐม เพื่อพัฒนาจุดอ่อนและช่วยต่อยอดจุดแข็งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยอาศั
กลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าที่มีความยั่งยืนและมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” ภายใต้แนวทาง BCG Economy Model
   ผลลัพธ์ สามารถสร้าง “เครือข่ายผู้ปลูกโกโก้ปฐมนคร” สำนักส่งเสริมฯ ร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกโก้โก้จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี (ประมาณ 45 ราย) จัดตั้ง เครือข่ายผู้ปลูกโกโก้ปฐมนคร สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโกโก้ ในไลน์กลุ่ม และสำหรับเป็นฐานข้อมูลการปลูกโกโก้ในพื้นที่ รวมทั้งข้อมูลกำลังการผลิต พื้นที่ปลูก การแลกเปลี่ยนสินค้า ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรและผู้ประกอบการ จ.นครปฐม และภายหลังได้มติจากกลุ่มเปลี่ยนเชื่อเป็น "เครือโกโก้ปฐมนคร" เนื่องจากมีสมาชิกในพื้นที่ จ.ราชบุรี และกาญจนบุรี เข้าร่วมเพิ่มขึ้น รวมสามชิก 45 ราย จาก ประมาณ 60 ราย จากการสำรวจพบว่า จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ปลูกรวมกว่า 90 ไร่หรือมีต้นโกโก้กว่า 9,000 ต้น เป็นพันธุ์ชุมพร 1 กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ปลูกในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกและพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 14 ราย พื้นที่ตำบลคลองนกระทุง จำนวน 4 ราย พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม จำนวน 7 ราย พื้นที่ตำบลสระกระเทียมจำนวน 35 ราย
การเผยแพร่องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ
     1. ด้านการเตรียมความพร้อมการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโกโก้ วันที่ 7 ก.ค. 66 สำนักส่งเสริมฯ และแกนนำเครือข่ายผู้ปลูกโกโก้นครปฐม จำนวน 13 ท่าน ศึกษาดูงานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโกโก้ในงาน Open Market: THAILAND CHOCOLATE FEST’23 บริเวณชั้น 6 ศูนย์การค้า Central Embassy ด้านการตลาดสินค้า การพัฒนาผลิตภัฑณ์ และสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ
     2. ด้านการบริหารจัดการสวนโกโก้ วัันที่ 26-27 ส.ค. 66 ดร.กันยารัตน์ เชี่ยวเวช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม เปิดการฝึกอบรมหลักสูตร เทคโนโลยีการผลิตโกโก้ ให้กับเครือข่ายโกโก้ปฐมนคร จำนวน 30 ท่าน ณ แสนปาล์มเทรนนิ่งโฮม ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ แปลงสาธิตและฝึกปฏิบัติ ณ ต.หนองงูเหลือม โดยได้ประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องโกโก้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวปานหทัย นพชินวงศ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และดร.อนุวัฒน์  กำแพงแก้ว กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร กรมวิชาการเกษตร
การส่งเสริมความรู้โดยการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาการแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากโกโก้   วันที่ 26 พค 66 สำนักฯ นำแกนนำผู้แทนเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหนองงูเหลือมพัฒนาการเกษตร พบ ผศ.ดร.ศศิธร นาคทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร โครงการจัดตั้งภาควิชานวัตกรรมอาหารปลอดภัย ่ให้คำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโกโก้แก่เกษตรกรแกนนำผู้ปลูกโกโก้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เข้าชมโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์
   วันที่ 6 มิย 66 สำนักส่งเสริมนำแกนนำเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหนองงูเหลือมพัฒนาการเกตร พบ ผศ.ดร.พัชราภรณ์ ถิ่นจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปอาหาร โครงการจัดตั้งภาควิชานวัตกรรมอาหารปลอดภัย คณะเกษตรกำแพงแสน ที่ให้คำปรึกษาในการพัฒนาขั้นตอนการแปรรูปเครื่องดื่มจากเยื่อโกโก้ (Cocoa Pulp) และไวน์โกโก้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
   วันที่ 20 มิย 66 สำนักส่งเสริมฯ นำผู้แทนเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหนองงูเหลือมพัฒนาการเกษตร และผู้ประกอบการที่สนใจธุรกิจผลิตภัฑณ์จากโกโก้ ประชุมร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KAPI) โดย ดร.สุพนิดา วินิจฉัย และทีมงาน ในการให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตถัณฑ์จากโกโก้บัตเตอร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่อ
การแปรรูปโกโก้ การสร้างแบรด์และการตลาดสินค้า รวมทั้งการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ จากแหล่งความรู้ต่างๆโดย
     1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองงูเหลือมพัฒนาการเกษตรได้นำเมล็ดโกโก้จากสมาชิกและเกษตรกรรายอื่นๆทั้งในและนอกจังหวัดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ : ขาหมูตุ๋นเมล็ดโกโก้-ไวน์โกโก้-น้ำเยื่อโกโก้สด-โกโก้บัตเตอร์-โกโก้แมส
     2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์บ้านสระกะเทียม ได้นำเมล็ดโกโก้จากสมาชิกและเกษตรกรรายอื่นๆทั้งในและนอกจังหวัดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ : ทองม้วนโกโก้-โกโก้นปิส์-โกโก้บาร์-ครีมโกโก้-สบู่โกโก้-โกโก้บัตเตอร์-โกโก้แมส
     ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้จังหวัดนครปฐมได้รวมเป็น "เครือข่ายผู้ปลูกโกโก้เมืองปฐมนคร"  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูก ดูแลรักษาและเทคนิคการแปรรูปต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผลผลิตและการสร้างอำนาจการต่อรองกับผู้ค้าในอนาคต
ลิงค์แนบรูปภาพ https://drive.google.com/drive/folders/1Q0Rd5gnCblCM6idXMRGPSi9izcrkeNg?usp=drive_link
ติดต่อเรา
สแกนQR Code
google map


จำนวนผู้เยี่ยมชม

web counter

นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Privacy Policy)
Copyright 2021 © สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน.