สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินกิจกรรมต้นแบบที่ผสมผสานระหว่างจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายร่วมกันของกลุ่มอาชีพ สถาบันเกษตร ครูอาชีพ และประชาชนทั่วไป ไม่เพียงช่วยเหลือเกษตรกร ในด้านการสร้างรายได้ยังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรมจากผู้ผลิต เป็นช่องทางในการฝึกทักษะและให้องค์ความรู้นวัตกรรมและคำปรึกษาในการพัฒนาสินค้าเกษตร การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และคนในชุมชนในพื้นที่ดำเนินการ Social engagement 2) เพื่อให้ผู้บริโภคที่เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไป ได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรวิถีใหม่ (New Normal) ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และคนในชุมชนในพื้นที่ดำเนินการ Social engagement
ลักษณะการดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2566 – 30 กันยายน 2567 สถานที่ ณ บริเวณลานนิทรรศการ อาคารศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งจะจัดทุกวันศุกร์ เวลา 12.30 – 15.00 น.
ในปี 2567 ดำเนินงานจำนวน 44 ครั้ง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งสิ้น 2,741,180 บาท มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 7,406 คน โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยโดยการตรวจหาสารเคมีตกค้างเรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเกิดการขยายกลุ่มผู้จำหน่ายสินค้าโดยการเข้าร่วมจากเครือข่ายบุคลากรจากคณะต่างๆ สนใจเข้าร่วมออกร้านจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น และมีการดำเนินงานในรูปแบบของกลุ่มเครือข่ายในชื่อของกลุ่มเกษตรกร “ตลาด KU USR” ซึ่งจากความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรนี้ จึงได้รับการเชิญให้เข้าร่วมการออกร้านจำหน่ายสินค้าร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรทั้งสิ้น 70,090 บาท เป็นต้น
ผลกระทบต่อสังคม : เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้งในระดับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร การแลกเปลี่ยนวิธีการผลิต/การทำการเกษตร ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาการด้านการผลิตที่ตอบโจทย์อาหารปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบต่อชุมชน : ชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยได้รับการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และเพิ่มศักยภาพด้านปลายน้ำที่เหมาะ รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรให้เกิดความมั่นคง สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ : สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนของเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตลอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อใช้สำหรับการแปรรูปสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อไป เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัย โดยการนำผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยเข้าร่วมจำหน่ายในกิจกรรมดังกล่าว
ผลกระทบต่อสุขภาพ : บุคลากร นิสิตและประชาชนทั่วไปโดยรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี และได้ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ให้มีรายได้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนและการลงทุนประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต
แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในอนาคต : การพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าของเครือข่ายเกษตรกรกลุ่ม “ตลาดนัด KU USR” ให้ผ่านการรับรองมาตรฐานทุกชนิด ตลอดจนสินค้าแปรรูปที่ได้รับมาตรฐานและมีตลาดรับสินค้าอย่างต่อเนื่อง
การต่อยอดขยายผล กิจกรรม "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยเกษตรกร เกษตรกรช่วยผู้บริโภค (KU USR) โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนงานภายในวิทยาเขตกำแพงแสน ด้านบริการวิชาการและขยายเครือข่ายความร่วมมือของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และชุมชนพื้นที่ภายใต้การดำเนินงานของคณะและสำนักฯ ให้เป็นวงกว้างขึ้น มีการนำผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ งานบริการวิชาการและผลงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่แก่บุคลากรและประชาชนทั่วไป เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รูปแบบการจัดกิจกรรม ได้แก่ 1) จัดหาแหล่งอาหารที่ดีตอสุขภาพและราคาไมแพง ส่งต่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง ผ่านการออกร้านเพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตร ภายใต้ชื่อ ตลาดนัด KU URS สัญจร มีกำหนดจัดทุกวันศุกร์สิ้นเดือน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ที่คณะเกษตร กำแพงแสน ต่างๆ และขอใช้สถานที่ของคณะนั้นๆ โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 09.30 – 15.00 น.2) การบูรณาการงานวิชาการ บริการวิชาการ เผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ